27 August 2021
‘ใหม่ ดี มีประโยชน์’
ตอบโจทย์การสร้างนวัตกรรมที่ BiiC
![](/storage/newsroom/refaction/2021/08/biic/highlight.jpg)
ซึ่งตัว “i” สองตัว ตรงกลางสื่อถึงคนในปัจจุบันที่ต้องทำงานแบบ Collaboration ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรมที่หลากหลาย
จากพื้นฐานความรู้วิศวกรรมอาหาร ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกณิชย์ ได้เข้าร่วมงานใต้ชายคาองค์กรสีเขียว บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการส่วนงานการบ่มเพาะธุรกิจ สถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจบางจาก “BiiC” หรือชื่อเต็มว่า ‘Bangchak Initiative and Innovation Center’ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการสร้าง หรือหานวัตกรรมที่เป็นสีเขียวมาสู่บริษัทฯ และสามารถให้พนักงานทุกคนในองค์กรสามารถเอานวัตกรรมเหล่านี้ ไปทำงานของตัวเองได้
การสนทนาเริ่มต้นกับ ดร.ก่อศักดิ์ ขึ้นอย่างกันเอง ภายในห้องทำงานซึ่งเปิดเป็นพื้นที่ Co-Working Space เสมือนหนึ่ง พื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ไอเดียและหลากหลายนวัตกรรมจุดประกายขึ้นที่นี่...
“วิสัยทัศน์ของบางจากฯ นำทางให้ผมมาทำงานที่นี่ นั่นคือ Evolving Greenovation ก่อนหน้านี้ ผม ทำงานด้านนวัตกรรมสีเขียวและมีโอกาสเข้ามาในยุค CEO คนปัจจุบัน มีการนำองค์กรในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างหนึ่งคือเป็น Bio-Based Business พร้อมจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมฯ (BiiC)”
บ่มเพาะธุรกิจ สร้างนวัตกรรม เน้นการลงทุน
BiiC ประกอบด้วยส่วนงาน 3 ส่วน ได้แก่ ระบบนิเวศ ระบบบ่มเพาะธุรกิจ ระบบนิเวศนวัตกรรม “งานบ่มเพาะธุรกิจ เน้นการสร้างนวัตกรรมจากภายในองค์กร อย่างโปรเจกต์ ‘ปั้นคนในให้เป็นเถ้าแก่’ หรือ ‘The Intrapreneur’ เปิดกว้างให้พนักงานทุกคน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีความฝันอยากเป็นเจ้านายตัวเอง เพราะโครงการนวัตกรรมในหลายๆ ส่วน ต้องอาศัยความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง และมีมุมมองหาช่องใหม่ ๆ”
ซึ่งพนักงานทุกคนสามารถเข้ามาใช้ เพื่อสร้างสรรค์งานนวัตกรรมได้ตลอดเวลา
การที่แต่ละคนมีพื้นฐานและความสนใจที่แตกต่างกัน เขามองว่าทำให้เกิดนวัตกรรมหลากหลาย “เราไม่ได้เน้นการประกวด ดังนั้นในแต่ละปีเราไม่ได้หาโครงการที่ดีที่สุด แต่เป็นการหาว่าใครพร้อมไปสู่การทดลองในเชิงพาณิชย์มากกว่า”
“นวัตกรรมมีหลากหลายรูปแบบที่สามารถนำเครื่องมือ เช่น Design Thinking, Business Model Canvas ซึ่งถอดแบบจากมาตรฐานและการพัฒนาโดยองค์กรระดับโลก มาใช้ในกระบวนการคิดให้มีระบบมากขึ้น ทำให้พนักงานช่วยกันดูกระบวนการทำงานในปัจจุบัน ตรงไหนสามารถปรับปรุงกระบวนการได้ เกิดเป็นการพัฒนาคุณภาพ QCC (Quality Control Circle) การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน หรือ BPR (Business Process Redesign) ปัจจุบัน เราให้ความสำคัญกับรูปแบบออนไลน์ จึงมีระบบ e-Learning, e-Classroom พนักงานสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งช่วยร่นเวลาในการพัฒนาคนด้วย”
นวัตกรรมมีหลากหลายรูปแบบ
เราไม่ได้หาโครงการที่ดีที่สุด
แต่หาโครงการที่พร้อมไปสู่การทดลองในเชิงพาณิชย์
![](/storage/newsroom/refaction/2021/08/biic/quote-2.jpg)
แต่กว่าจะได้ข้อมูลมา เขาก็ต้องเข้าไปสู่ระบบนิเวศของนวัตกรรม คือการออกไปหา พบปะผู้คนเพื่อสร้างความ สัมพันธ์ และสร้างภาคีเครือข่ายในการขยายความร่วมมือร่วมกับบางจากฯ เพื่อประหยัดเวลา และเพิ่มความรวดเร็ว “หลักการของ BiiC ไม่ได้สนใจพาร์ตเนอร์ว่าเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ต่างชาติ หรือรายเล็ก หรือสตาร์ทอัพ แต่ดูว่าสามารถมาสร้างคุณค่าร่วมกันได้ไหม ซึ่งที่ผ่านมาเราสามารถพัฒนา IP (Intellectual Property) หรือ ทรัพย์สินทางปัญญา หนึ่งในวิธีการสร้างมูลค่าให้กับบริษัทฯ ปัจจุบันจดสิทธิบัตรไปแล้ว 12 รายการ ภายในช่วง 3 ปี”
การสร้างคลังไอเดียเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ “ที่นี่เรามี ‘Idea Bank’ ถูกพัฒนาขึ้นโดย ทีม Ecosystem & Innovation ของทางบริษัทฯ เพื่อเก็บรวบรวมไอเดีย “บางโครงการสามารถนำมาปัดฝุ่นต่อยอดได้ แต่ก็เป็นหน้าที่ของสถาบันฯ ที่ต้องออกไปลุยหาอะไรใหม่ ๆ เผื่อไว้ และนำมาปรับให้เข้ากับสภาพความเป็นจริง ขณะเดียวกันต้องสร้างความเข้าใจ สื่อสารทิศทางชัดเจน โดยอาศัยความสมดุล ความเหมาะสม และช่วงจังหวะเวลา
ปีที่แล้ว บริษัทฯ ให้พนักงานทุกคนระดมความคิดด้วยกันทุกวันศุกร์ เรียกว่า TGIF หรือ Think Great It’s Friday คือทุกวันศุกร์บ่ายทุกคนสามารถทำอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่งานประจำแต่ก่อเกิดประโยชน์กับองค์กร ปรากฎว่ามีการผุดไอเดีย นวัตกรรมในกลุ่มพนักงาน จัดทำ ‘พวงหรีดแอลกอฮอล์เจล’ รวมถึงดัดแปลงไปมอบเป็นกระเช้าของขวัญเยี่ยมผู้ป่วย ถือเป็นผลผลิตด้านสุขภาพที่สร้างสรรค์ไม่น้อย
แม้จะเป็นไอเดียเล็ก ๆ แต่พนักงานเองก็ภูมิใจที่เขาได้มีส่วนในการร่วมกันคิดและช่วยกันทำและออกมาเป็นงานที่ใช้ได้จริง” ปีนี้ทีมงานก็มีการวางแผนจะนำ TGIF กลับมา เพื่อความต่อเนื่องในการสร้างนวัตกรรมในองค์กร
![](/storage/newsroom/refaction/2021/08/biic/quote-3.jpg)
![](/storage/newsroom/refaction/2021/08/biic/quote-4.jpeg)
‘สาหร่ายแดง’ สุดยอดนวัตกรรมหนึ่งเดียวในประเทศไทย
“นวัตกรรมที่เป็นความภูมิใจของบางจากฯ แต่อาจจะยังไม่ค่อยรู้จักกันกว้างขวางคือ กระบวนการการผลิตสาหร่ายสีแดง ที่สามารถสร้าง Astaxanthin มีสารต้านอนุมูลอิสระ เทียบเท่ากับวิตามินซี 100 เท่า ถือเป็นองค์ความรู้ที่เราพัฒนาขึ้นมา และสามารถทำในเชิงพาณิชย์ ได้รับการรับรองจาก อย. และอยู่ระหว่างการขยายผล มีโรงงานต้นแบบและกระบวนการผลิตเอง ถือว่าเป็นรายเดียวในประเทศไทยที่มี know-how นี้ จดสิทธิบัตร และมีนักวิจัยพัฒนาขึ้นมา”
ทุกนวัตกรรมของบางจากฯ
ต้องตอบโจทย์ ‘สังคม’ และ ‘สิ่งแวดล้อม’ เสมอ
ส่วนนวัตกรรมอื่นๆ ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็เป็นการร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เช่น ‘ปั๊มลอยฟ้า’ เป็นปั๊มแรกและปั๊มเดียวในเมืองไทย อยู่ที่สุขุมวิท 62 ตอบโจทย์สำหรับพื้นที่น้อย และลูกค้าไม่ต้องกังวลว่าหัวจ่ายจะอยู่ฝั่งไหนของรถ เรียกว่าเป็นนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ของการขายหรือโครงการ ‘Winnonie’ (วิน-No-หนี้) นวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตวินมอเตอร์ไซค์ ซึ่งเป็นไอเดียของพนักงาน ช่วยลด ค่าใช้จ่ายให้กลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ จึงพัฒนาแพลตฟอร์ม EV รถจักรยานยนต์และแบตเตอรี่ไฟฟ้าให้เช่า รวมถึงต่อยอดการพัฒนา ติดตั้งตู้ swapping แห่งแรก เพิ่งเปิดตัวไปอยู่ที่ปั๊มสาขาเอกมัย ซึ่งตอนนี้ได้กลายเป็น บริษัท วินโนหนี้ จำกัด สตาร์ทอัพแห่งแรกของบริษัทฯ ที่เกิดจากพนักงานภายในองค์กร
![](/storage/newsroom/refaction/2021/08/biic/quote-5.png)
![](/storage/newsroom/refaction/2021/08/biic/quote-6.jpg)
“อาจจะมองกันว่า นวัตกรรมเป็นเรื่องของเทคโนโลยีไกลตัว แต่ความจริงแล้ว การปรับรูปแบบการทำงาน ถ้าออกมา ใหม่ ดี มีประโยชน์ นี่ละครับ ‘นวัตกรรม’ สำหรับผมแล้ว รวมถึงนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แบบยั่งยืน ต้องทดสอบว่าทำได้จริง ไม่ใช่ทำแล้วดัง..แล้วหายไป สิ่งที่สำคัญ คือ ทุกนวัตกรรมของบางจากฯ ต้องตอบโจทย์สังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย”
นับได้ว่า เกือบ 4 ทศวรรษแห่งการพัฒนาธุรกิจของบางจากฯ นั้น เป็นไปตามหัวใจสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแกร่งด้วยการ ‘พัฒนานวัตกรรมธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม’ อย่างแท้จริง
บางจากฯ มีงานวิจัย การประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้ดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรและอนุสุทธิบัตร (IP filing) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว 17 รายการ ฉบับล่าสุดคือโครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการสำหรับการผลิตแผ่นเส้นใยสลายตัวได้ทางธรรมชาติจากโพลีไฮดรอกซีอัลคาโนเอต (PHAs) ทดแทนโพลีโพรพีลีน (PP) ที่เป็นขยะพลาสติกก่อให้เกิดปัญหาไมโครพลาสติกสามารถนำไปผลิตแผ่นกรองในหน้ากากอนามัยที่สามารถกรองอนุภาคขนาด 0.1 ไมครอนได้มากกว่าหรือเท่ากับ 99% (PEF : 0.1 microns > 99%, PM 2.5) ที่สลายตัวได้ทางธรรมชาติ โดยใช้เทคนิคการขึ้นรูปแผ่นกรองด้วยการปั่นเส้นใยด้วยไฟฟ้าสถิต เป็นงานวิจัยร่วมกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (Nanotec)