บริษัทฯ มุ่งมั่นขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างยั่งยืน โดยคงไว้ซึ่งสมดุลแห่งความมั่นคงทางพลังงานเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี ด้วยนวัตกรรมโซลูชั่นสีเขียว ดำเนินธุรกิจด้วยความคำนึงถึงเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแลกิจการ อย่างมีความรับผิดชอบต่อทุกภาคส่วน ตามวิสัยทัศน์ “Crafting a Sustainable World Evolving Greenovation” การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพต่อเนื่อง โดยนำข้อมูลมาใช้ประกอบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของบริษัทฯ เพื่อสร้างสมดุลระหว่างมูลค่าและคุณค่าจากการดำเนินธุรกิจ ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบด้านความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงานร่วมกัน กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัทฯ ได้จำแนกออกเป็น 10 กลุ่ม ได้แก่ พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน คู่แข่งทางการค้า เจ้าหนี้ นักลงทุน เพื่อนบ้านบางจาก สื่อมวลชน และหน่วยงานราชการ
กระบวนการดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย
ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจัดลำดับโดยพิจารณาจะ 3 เกณฑ์
- กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
- บริษัทฯ สร้างผลกระทบด้านความยั่งยืนให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่
- กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีอิทธิพลที่จะมีผลกระทบด้านความยั่งยืนต่อบริษัทฯหรือไม่
การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
- กำหนดส่วนงานผู้รับผิดชอบกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- กำหนดวิธีการสำรวจความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเป็นระบบและความถี่ในการดำเนินงาน
- รวบรวมข้อมูลความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
- ระบุสาเหตุและผลกระทบที่เคยเกิดขึ้นและคาดว่าจะเกิดขึ้น เชิงบวกและลบต่อประเด็นด้านความยั่งยืน (เศรษฐกิจ, สิ่งแวดล้อม และสังคมซึ่งรวมถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน) และพิจารณาลำดับความสำคัญตามระดับความรุนแรง (Severity) และโอกาส (Likelihood) ที่จะเกิดขึ้นของแต่ละประเด็น
การนำผลไปดำเนินการ
- เสนอผลการวิเคราะห์ต่อคณะทำงานบริหารจัดการด้านความยั่งยืนองค์กร (SMC) คณะทำงานนโยบายความยั่งยืนองค์กร (SPC) และคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืนและบรรษัทภิบาล (SCGC) ตามลำดับเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน จัดทำ กลยุทธ์องค์กร และวางแผนงานเพื่อป้องกันและลดผลกระทบด้านความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้เสียที่แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่สำคัญ
การกำกับดูแลและเศรษฐกิจ (7 ประเด็น)
- นวัตกรรมและการลงทุนด้านความยั่งยืน
- คุณภาพบริการและผลิตภัณฑ์
- การกำกับดูแลกิจการ/จริยธรรม
- ความยั่งยืนของห่วงโซ่อุปทาน
- การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและความปลอดภัยทางไซเบอร์
- ความสัมพันธ์กับลูกค้า
- พฤติกรรมต่อต้านการแข่งขัน
สิ่งแวดล้อม (6 ประเด็น)
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- การจัดการคุณภาพอากาศ
- การจัดการเหตุรั่วไหล
- การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย
- การบริหารจัดการของเสีย
- ความหลากหลายทางชีวภาพ
สังคม (6 ประเด็น)
- อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- การเข้าถึงพลังงาน
- การพัฒนาชุมชน และการจ้างงานในชุมชน
- การจัดการทรัพยากรมนุษย์
- สิทธิมนุษยชน สิทธิและการปฏิบัติต่อแรงงาน
- การครอบครองพื้นที่และสิทธิ