EN
การใช้พลังงานสุทธิขององค์กร
13,749.84 เทระจูล
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขต 1 และ 2(ตามขอบเขตการควบคุมการดำเนินงาน)
ล้านตัน
คาร์บอนไดออกไซด์
เทียบเท่า
การรับน้ำจากแหล่งต่างๆ รวม
2.64 ล้านลูกบาศก์เมตร
น้ำจากกระบวนการผลิต น้ำบาดาล และน้ำประปาที่ใช้ในโรงกลั่นฯ
ปริมาณน้ำใช้ซ้ำ/
น้ำรีไซเคิลของโรงกลั่นฯ
1.32
ล้านลูกบาศท์เมตร
การจัดการของเสียตามหลัก
3Rs

Environment Standards / Guideline

Environmental management system ISO 14001:2015
Energy management system ISO 50001:2018 / Solomon Energy Intensity Index
Water management Water Stress Index (WSI) / ISO14046 Water Footprint
Waste management Reduce, Reuse & Recycle (3Rs)

Environmental Dimension Targets

Environmental Management Program

การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่ออรรถประโยชน์สูงสุด (Operational Eco-efficiency)

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในกระบวนการผลิตอย่างคุ้มค่า ให้กำลังการผลิตสูงสุดแต่เกิดของเสียและมลพิษน้อยที่สุด มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001: 2015 ซึ่งครอบคลุมทั้งการใช้ทรัพยากรและควบคุมมลพิษ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้นโยบายเชิงรุก สอดคล้องตามเกณฑ์อุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Industry Level 5: Green Network) และส่งเสริมแนวทางการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมไปยังผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน ชุมชนและผู้บริโภค เพื่อผลักดันไปสู่การเป็นเครือข่ายสีเขียว (Green Network) และเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมจนเกิดเป็น วัฒนธรรมองค์กรในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ

การสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ใช้ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ Eco-efficiency เป็นดัชนีชี้วัด ซึ่งบริษัทฯ ได้ใช้รายได้ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่าย (EBITDA) สะท้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และใช้ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม สะท้อนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจที่สูงจะแสดงถึงการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง และมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ต่ำ

หมายเหตุ : EBITDA และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ขอบเขต 1 และ 2) ของกลุ่มธุรกิจโรงกลั่นฯ และกลุ่มธุรกิจตลาด

การใช้พลังงาน

พลังงานเป็นต้นทุนที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตามการใช้พลังงานสร้างผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ และตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 7 (SDG 7) และ 13 (SDG 13) เพื่อลดผลกระทบจากการใช้พลังงานและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบของการใช้พลังงานดังกล่าวในการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ จึงได้นำระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากล ISO 50001 มาใช้ในการจัดการพลังงาน ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและศูนย์จ่ายตั้งแต่ปี 2557 และ ปี 2562 นี้บริษัทฯ เป็นบริษัทรายแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 50001: 2018 ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดการพลังงานสู่มาตรฐานสากลและเป็นรากฐานการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

กลุ่มบางจากฯ พร้อมที่จะร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียว มุ่งสู่สังคม คาร์บอนต่ำ ด้วยการกำหนดแผน BCP NET ครอบคลุม

4 แนวทาง

เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมาย

Carbon Neutrality ในปี 2573 และ Net Zero ในปี 2593 ขององค์กร

โดยเน้นกระบวนการที่จับต้องได้และสามารถหวังผลในระยะยาวดังนี้

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม

การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ผลการดำเนินงานปี 2566

บริษัท บางจากฯ

(ธุรกิจโรงกลั่น, อาคารสำนักงานและศูนย์ภาค และธุรกิจการตลาด)

(GRI 305-1 & 305-2 Verification)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ขอบเขตที่ 1 และ 2 รวม
955,091.49 tCO2e
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 1
941,578.31 tCO2e
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 2
13,513.18 tCO2e
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 3
4,845,827.20 tCO2e

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Low-Carbon Product)

บริษัทพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีส่วนผสมของ เอทานอล และไบโอดีเซล ในทุกผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย ซึ่งทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อเครื่องยนต์ ดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยบรรเทาปัญหาฝุ่น PM2.5 และยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

ปริมาณการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเติมน้ำมันผ่านบัตรสมาชิกบางจาก

(หน่วย : ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)

การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โครงการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งด้วยรถขนาดใหญ่ (กึ่งพ่วง)

บริษัทฯ บริหารจัดการรถขนส่งด้วยการเปลี่ยนจากรถเดี่ยว 2 คัน เป็นรถกึ่งพ่วงขนาดใหญ่ (40,000 ลิตร) นอกจากช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้แล้ว ยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยน้ำมัน

ร้อยละการขนส่งน้ำมันใสด้วยรถขนาดใหญ่ (กึ่งพ่วง) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

(เป้าหมาย: เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 2 ต่อปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้การลดจำนวนเที่ยววิ่ง)

การบริหารจัดการน้ำ

บริษัทฯ ในฐานะอุตสาหกรรมพลังงานที่มีการใช้น้ำสูง ได้ตระหนักและให้ความสำคัญอย่างมากในการ บริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้กำหนดเป้าหมายการลดการใช้น้ำ และควบคุมการใช้น้ำใหม่ รวมถึงบริหารจัดการน้ำด้วยแนวทาง เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้มีการน้ำ Water Stress Index (WSI) ทั้งระดับ 25 Watersheds ของประเทศไทย และ WSI ระดับโลก(1) เพื่อใช้ในการประเมิน Water Scarcity Footprint ของผลิตภัณฑ์ ของบริษัทฯ ตามแนวทาง ISO 14046

การลดการใช้น้ำ
เป้าหมายลดลง 40% เทียบกับความต้องการน้ำตามสัดส่วนต่อปริมาณน้ำมันดิบในปีฐาน 2562
ผลลัพท์ ลดลง
40%
ควบคุมปริมาณการใช้น้ำต่อกำลังผลิต
(เป้าหมายไม่เกิน 53 ลูกบาศก์เมตร / พันบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันที่ผลิตได้)
60
ลูกบาศก์เมตร / พันบาร์เรล
การใช้น้ำที่ประหยัดได้เทียบเท่าครัวเรือน
3,900
ครัวเรือน*
*ข้อมูลการใช้น้ำในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งในเขตพระโขนงที่ตั้งโรงกลั่น มีสมาชิก ครอบครัวละ 1.85 คน/ครัวเรือน ปริมาณน้ำใช้ 0.56 ลูกบาศก์เมตร/คน/วัน หรือ 1.04 ลูกบาศก์เมตร/ครัวเรือน/วัน (ข้อมูลจากการประปานครหลวง: 2558)

ร้อยละของการลดการใช้น้ำประปาใหม่เทียบกับความต้องการใช้น้ำในปีนั้นๆ (ร้อยละและปริมาณน้ำที่ลดได้)

*เทียบข้อมูลจากปีฐาน 2558 จากผลรวมของน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่จากการนำน้ำควบแน่น (Condensate Water) คุณภาพดีมาใช้ซ้ำที่หม้อต้มไอน้ำและภายในหน่วยกลั่นที่ 4 รวมกับ การนำน้ำจากหน่วยบำบัดน้ำทิ้งมาปรับปรุงคุณภาพเพิ่มเติมด้วยระบบรีเวอร์สออสโมซิส และการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดจากหน่วยบำบัดน้ำทิ้งมาปรับปรุงคุณภาพเพิ่มเติมด้วยระบบ รีเวอร์สออสโมซิสไปใช้ที่หอหล่อเย็น

การจัดการมลพิษทางน้ำ

บริษัทฯ มีการจัดการมลพิษทางน้ำด้วยระบบบำบัดที่มี ประสิทธิภาพสูง ทำให้คุณภาพน้ำทิ้งที่ออกจากโรงงานมีคุณภาพ ดีกว่ามาตรฐานกรมโรงงานกำหนดและยังมีการลดปริมาณน้ำทิ้ง ด้วยระบบรีไซเคิล ซึ่งกระบวนการบำบัดของบริษัทฯ ประกอบ ไปด้วย 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ กระบวนการบำบัดทางกายภาพ (Physicochemical Treatment Process) กระบวนการบำบัดทาง ชีวภาพ (Biological Treatment Process) และกระบวนการบำบัด ขั้นสุดท้าย หรือกระบวนการกรอง (Tertiary Treatment Process)

นอกจากนี้บริษัทฯ ได้มีการวิเคราะห์คุณภาพน้ำหลังผ่านการ บำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันด้วยห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นห้องวิเคราะห์คุณภาพเอกชนจาก กรมโรงงานอุตสาหกรรมและได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับสากล ISO/IEC 17025 อีกทั้งยังมีบุคลากรเฉพาะคอยดูแลระบบบำบัด อย่างใกล้ชิด

บริษัทฯ ยังได้ติดตั้งเครื่องมือ COD Online ที่สามารถ วัดค่า COD และส่งผลการวัดแบบ Realtime ไปยังกรมโรงงาน และชุมชนโดยรอบพื้นที่อีกด้วย

การรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมีที่มีนัยสำคัญ (ครั้ง) (มากกว่า 100 บาร์เรล/ครั้ง)

การป้องกันและจัดการการรั่วไหล

บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยง ผลกระทบ จากการรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมีจากการดำเนินงาน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ดังนั้นบริษัทฯ จึงให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในทุกกระบวนการทำงาน รวมถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรมของบริษัทฯ ไม่ให้เกิดการรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การขนส่งน้ำมันดิบจากเรือขนส่งมายังโรงกลั่นบางจาก เพื่อเข้ากระบวนการกลั่นน้ำมัน จนถึงการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันไปยังคลังน้ำมัน จนถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า

การจัดการมลพิษอากาศ

ปัญหามลพิษอากาศเป็นประเด็นสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมพลังงานที่สามารถส่งผลกระทบด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ประกอบกับปัญหาฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่ปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงขึ้นในประเทศไทย บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญอยู่เสมอในการดูแลและควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม โดยจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน ผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โรงกลั่น รวมถึงชุมชนและสภาพแวดล้อมที่อยู่โดยรอบโรงกลั่นและพื้นที่ปฏิบัติงานของบริษัทฯ

เป้าหมายการลดการปลดปล่อยมลพิษและผลการดำเนินงานปี 2566

ควบคุมการปลดปล่อยมลพิษให้ไม่เกิน 80% ของค่าควบคุม

SO2
ค่าควบคุม ไม่เกิน 1,000 ตัน
เป้าหมาย ไม่เกิน 800 ตัน
ผลลัพธ์
38.95
ตัน
NOx
ค่าควบคุม ไม่เกิน 1,000 ตัน
เป้าหมาย ไม่เกิน 800 ตัน
ผลลัพธ์
526.79
ตัน
ฝุ่นละออง
ค่าควบคุม ไม่เกิน 386 ตัน
เป้าหมาย ไม่เกิน 308.8 ตัน
ผลลัพธ์
15.35
ตัน
ได้รับการรับรอง
ISO 14001
ต่อเนื่องเป็นปีที่ 26
คุณภาพอากาศที่ตรวจวัดโดย
3rd Party
อยู่ใน ค่ามาตรฐาน
ควบคุมการปลดปล่อย Fugitive VOCs
ทุกจุดตรวจวัด ไม่เกิน 200 ppm
(กฏหมายกำหนดไม่เกิน 500 ppm)
ติดตั้งหอเผาใหม่ ชนิด Enclosed Ground Flare
ส่งผลให้ก๊าซที่ส่งไปยังหอเผาทิ้ง เผาไหม้ได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ช่วยลดมลพิษทางอากาศ เสียง และ แสงสว่าง
2566 Enclosed Ground Flare ที่ 2 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
2565 ใช้งาน Enclosed Ground Flare ที่ 1 เต็มรูปแบบ
2564 เริ่มทดลองเดินเครื่อง Enclosed Ground Flare ที่ 1 เต็มรูปแบบ
2563 ทดลองเดินเครื่องหอเผา Enclosed Ground Flare ที่ 1
2562 Enclosed Ground Flare ที่ 1 อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ข้อร้องเรียนด้านมลพิษทางอากาศ
(เป้าหมาย = 0 เรื่อง)

การจัดการของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรอย่างคุ้มค่าถึงที่สุด โดยดำเนินการตามหลัก 3Rs (Reuse, Reduce & Recycle) ในการใช้ประโยชน์ของของเสียอย่างคุ้มค่า ทั้งในพื้นที่สำนักงานและภายในโรงกลั่นฯ ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการพัฒนาต่อยอดแนวคิด 3Rs สู่ 5Rs และ 7Rs ตามลำดับ ได้แก่ การปฏิเสธการใช้วัสดุหรือสารเคมีที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Reject), การนำทรัพยากรที่มีคุณค่าที่อยู่ในของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ (Recovery), การคิดใหม่ให้รอบด้านเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ก่อนทิ้งหรือกำจัด (Rethink) และการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้แล้วให้กลับมามีคุณค่าอีกครั้งด้วยวิธีการใช้ประโยชน์รูปแบบอื่น (Repurpose) โดยมีเป้าหมายการจัดการของเสียไม่ให้มีการฝั่งกลบเกิดขึ้น (Zero Waste to Landfill) ควบคู่ไปกับเป้าหมาย การกำจัดของเสียด้วยวิธีการเผาที่ไม่มีการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ (Incineration without Energy Recovery) เท่ากับ 0 ตัน และลดการเกิดของเสียต่อหน่วยการผลิต (Waste Generation Intensity) ให้ได้ร้อยละ 3 ภายในปี 2568

ผลการดำเนินงานปี 2566

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)

การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นที่ป่าไม้

การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและการรบกวนระบบนิเวศต่างๆ ในธรรมชาติ ก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ และก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์ ทั้งในแง่คุณภาพชีวิต เช่น การลดลงของแหล่งอาหาร และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น ผลิตภาพที่ลดลงจากสภาพพื้นที่ที่สูญเสียพันธุ์พืชและสัตว์ บริษัทฯ ตระหนักถึงผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั้งเชิงบวกและลบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยกำหนดให้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นประเด็นสำคัญในนโยบายการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม

บัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ได้จัดทำและพัฒนาบัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Cost Accounting) ครอบคลุมกระบวนการผลิต น้ำมัน คลังน้ำมันบางจากและคลังบางปะอิน โดยได้มีการนำเสนอ บัญชีค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมให้กับหน่วยงานภายนอกและ นักลงทุนได้ทราบ ผ่านบทคำอธิบายและการวิเคราะห์ของ ฝ่ายจัดการ (MD&A) และจดหมายข่าวนักลงทุน (IR Newsletter) ทุกไตรมาสตลอดมา นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ นักศึกษาและหน่วยงานอื่นที่สนใจอย่างต่อเนื่อง

การละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม

การละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม 2563 2564 2565 2566
ข้อละเมิดกฎหมาย (กรณี) 0 0 0 0
ค่าปรับ (บาท) 0 0 0 0
หนี้สินค้างจ่าย ณ สิ้นปี (บาท) 0 0 0 0

มาตรฐานอาคารสีเขียว

Leadership in Energy and Environmental Design : LEED เป็นมาตรฐานอาคารสีเขียวที่เกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อมรวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร ที่ถูกพัฒนาโดย U.S.Green Building Council (USGBC) เพื่อประเมินผลประสิทธิภาพอาคาร ในด้านการออกแบบ, การก่อสร้างและการใช้งานอาคาร

อาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัท บางจากฯ ได้รับใบรับรอง LEED ในระดับ Platinum โดยเป็นอันดับ 1 ในประเทศไทยที่ได้รับใบรับรองในประเภท LEED for Commercial Interior (LEED CI) บนพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สำหรับงานตกแต่งภายในเชิงพาณิชย์ โดยอาคารสำนักงานมีการตกแต่งด้านสถาปัตยกรรม ที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมออกแบบและก่อสร้างโดยคำนึงถึง การประหยัดพลังงาน น้ำ การดูแลคุณภาพอากาศ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมดูแลคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย ผู้ใช้อาคาร และสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร

รางวัล

บริษัท บางจากฯ ได้รับ 2 ใบรับรอง แบ่งเป็นใบรับรองที่มอบให้สำหรับ Bangchak Convention and Meeting Center บริเวณห้องประชุมชั้น 8 และชั้น 10 และใบรับรองที่มอบให้ Bangchak @Bangchak Head Office บนพื้นที่ขนาด 10,676 ตารางเมตร ของอาคารสำนักงานใหญ่ของบริษัท