EN
ความปลอดภัย
อัตราบาดเจ็บจากการทำงาน จนถึงขั้นหยุุดงาน (LTIFR)
พนักงาน
ชาย
0
หญิง
0
ผู้รับเหมา
0
0
อัตราการบาดเจ็บรวม (TRIR)
พนักงาน
ชาย
0
หญิง
0
ผู้รับเหมา
3
0
สิทธิมนุษยชน
ร้อยละการประเมินความเสี่ยง ด้านสิทธิมนุษยชน
พนักงาน / บริษัทในกลุ่ม / คู่ค้า
ร้อยละ 100
ร้อยละการระบุความเสี่ยง ด้านสิทธิมนุษยชน
พนักงาน / บริษัทในกลุ่ม / คู่ค้า
ร้อยละ 0
สนับสนุนกิจกรรมและกระบวนการทางธุรกิจที่ตอบสนองต่อสังคม
(เงิน, เวลาจิตอาสาของพนักงาน, สิ่งของ, การบริหารจัดการ)
กว่า 231 ล้านบาท
โครงการด้านการศึกษาครอบคลุมเยาวชน
กว่า 15,000 คน
จากสถานศึกษากว่า 221 แห่งใน 56 จังหวัด
การดูแลพนักงาน
จำนวนพนักงานทั้งหมด
1,184 คน
อัตราการเลื่อนตำแหน่ง
ร้อยละ 15.65
คะแนนความผูกพันพนักงาน
ร้อยละ 85
การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
ชั่วโมงการทำงานอาสาของพนักงาน
11,296 ชั่วโมง
คิดเป็นเงิน 2.60 ล้านบาท
ความพึงพอใจต่อกิจกรรม ชุมชนสัมพันธ์
ร้อยละ 96.3
SROI
โครงการสนับสนุนกลุ่มแปลงใหญ่เกษตรผู้เลี้ยงผึ้งชันโรง
(พ.ศ. 2563 - 2566)1.95
โครงการส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ: เส้นทางหิ่งห้อยวิถีแห่งการอนุรักษ์
(พ.ศ. 2557 - 2566)1.58

ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

ความมั่นคง ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจปิโตรเลียม ไม่เพียงต่อบริษัทฯ เท่านั้น หากสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย อันได้แก่ พนักงาน ผู้รับเหมาและชุมชน บริษัทฯ จึงมีนโยบายด้านความมั่นคง ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย กำหนดให้พนักงานและผู้รับเหมามีหน้าที่และความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยทั้งต่อตัวเองและเพื่อนร่วมงาน ต่อกฎหมายและมาตรฐาน โดยมีโครงสร้างการบริหารด้านความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน (SHEE) และมาตรฐานด้านความปลอดภัย ISO 45001 ที่บริษัทฯ ใช้ในการบริหารด้านความปลอดภัย นอกจากนั้นแล้ว ยังดำเนินงานเพื่อวางรากฐานระบบบริหารความปลอดภัยกระบวนการ (Process Safety Management: PSM) (Disclosure 403-1)

การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน ในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นระบบ โดยประกอบธุรกิจบนพื้นฐาน ความเคารพในสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึง กลุ่มผู้มี อัตลักษณ์ทางเพศหลากหลาย (LGBTQ+) และยอมรับในความ แตกต่างด้าน ความคิด ตลอดจนความเสมอภาคทางสังคมอื่น ๆ อาทิ ศาสนา สีผิว เชื้อชาติ เพื่อนำมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงความมุ่งมั่นใน การป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจ เกิดขึ้นจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการ ดำเนินธุรกิจที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน ดังนั้น บริษัทฯ จึงมี นโยบายความรับผิดชอบทางธุรกิจต่อการ เคารพสิทธิมนุษยชน โดยยึดมั่นต่อ หลักการขององค์กรสากลด้าน สิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้รวมถึงข้อตกลงโลก (United Nations Global Compact : UNGC) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และหลักการแห่งการเสริมสร้างศักยภาพและพลังของผู้หญิง (Women's Empowerment Principles; WEPs) เป็นกรอบการดำเนินงานโดยกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงาน ทุกระดับยึดถือปฏิบัติ

การนำหลักเสริมสร้างศักยภาพสตรี (WEPs) มาปรับใช้เป็นแนว ปฏิบัติด้านความเท่าเทียมทางเพศ ภายใต้แนวคิด “แหล่งพลังงานที่หลากหลายสร้างความมั่นคงด้านพลังงานเหมือนกับความ หลากหลายและความเท่าเทียมย่อมเสริมแกร่งให้แก่องค์กรเช่นกัน ที่กลุ่มบางจากฯ เราตระหนักถึงความสำคัญของความเท่าเทียมทาง เพศ และสร้างสถานที่ทำงานที่ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง" เพื่อแสดง เจตจำนงค์ในการผลักดัน และส่งเสริมประเด็นนี้ และบริษัทฯ ลงนามยอมรับในหลักการของ WEPS

ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
  พนักงาน คู่ค้า
(Contractors & Tier 1 Suppliers)
บริษัทในกลุ่ม
ร้อยละที่ได้รับการประเมินความเสี่ยง 3 ปีล่าสุด 100 100 100
ร้อยละที่มีการระบุความเสี่ยง 0 0 0
ร้อยละของความเสี่ยงที่ระบุซึ่งมีมาตรการลดผลกระทบ 0 0 0

การเจรจาต่อรอง

บริษัทฯ เปิดโอกาสให้มีการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ในการเจรจาสิทธิประโยชน์ของพนักงานกับบริษัทฯ ผ่าน สหภาพแรงงานพนักงานของบริษัทฯ ที่ได้จดทะเบียนถูกต้องตาม กฎหมาย ปัจจุบันสหภาพแรงงานพนักงาน มีสมาชิกเป็นพนักงาน บริษัทฯ คิดเป็นร้อยละ 41 ของพนักงานทั้งหมด โดยมีการประชุมหารือกับผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแสดงถึงการสนับสนุนสิทธิในการทำงานตามปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UNGP) สหภาพแรงงานฯ มีสิทธิแต่งตั้ง คณะกรรมการลูกจ้าง (ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 13 คน) เพื่อ พัฒนาสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานร่วมกับผู้แทน ฝ่ายบริหารทำให้พนักงานได้รับสวัสดิการตรงตามความต้องการ และความคาดหวังอย่างเหมาะสม และมีการประชุมปรึกษาหารือ ร่วมกันทุกไตรมาสตามที่กฎหมายกำหนด

การดูแลพนักงาน

บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานภายใต้กลยุทธ์ 100XHappiness ส่งเสริมการปฏิบัติงานตามค่านิยมองค์กร i am bcp และบริษัทฯได้ให้ความสำคัญกับการรักษาพนักงานและการดึงดูดพนักงานกลุ่มเป้าหมาย (Talent Attraction and Retention) การเติบโตและความก้าวหน้าทางสายอาชีพ (Career Development and Career Path) เพื่อตอบสนองต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจและเพื่อให้พนักงานทุกคนมีความสุข 100 เท่า มุ่งสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืน 100 ปี หรือ Bangchak 100X โดยมีกรอบแนวคิด เป้าหมายและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

กรอบแนวคิดการดูแลพนักงานตามแนวทาง The BEST Employer

การขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

  • มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และมีความสามารถในการ ปรับตัวสูง
  • เน้นการทำงานเป็นทีม ที่เคารพในความแตกต่าง และประสานความต่างได้ ลงตัว
  • มีการสร้างสรรค์นวัตกรรม ครอบคลุมรองรับต่อการ เปลี่ยนแปลง
  • ตอบสนองต่อความต้องการ ของลูกค้าที่เปลี่ยนไปได้

ประสิทธิผลความเป็นผู้นำ

  • การพัฒนาผู้นำ
  • รักษาความสัมพันธ์ สร้าง การมีส่วนร่วม เชื่อมโยงกับ พนักงาน โดยสื่อสารวิสัย ทัศน์ที่ชัดเจน และแสดง คุณค่าที่ผู้นำยึดมั่นเพื่อสร้าง การมีส่วนร่วม

มุ่งเน้นการพัฒนาพนักงาน

  • การสร้างบรรยากาศในการ ทำงานและแรงบันดาลใจที่ดี ให้กับพนักงาน
  • การพัฒนาพนักงาน และ เสริมสร้างการเติบโตของ พนักงาน
  • การบริหารค่าตอบแทนและ การรักษาพนักงาน

ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน

  • การสร้างให้พนักงานมีความรู้สึกเชิงบวก มีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกับองค์กรในระยะยาว และ แสดงให้เห็นถึงแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มกำลัง
รูปแบบการประเมินผลปฏิบัติงานของพนักงานประจำปี
(ร้อยละของพนักงาน)
KPI + พฤติกรรมร้อยละ 32.20
KPI + พฤติกรรม + Potential Assessment (Multidimensional Assessment) ร้อยละ 67.80
โดยผลการปฏิบัติงาน จะถูกประเมินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
อัตราการลาออกพนักงาน
(ร้อยละ)
BCP 3.16 5.13 4.50 2.99
ปี 2563 2564 2565 2566
เป้าหมายอัตราการลาออกของพนักงานน้อยกว่าหรือเท่ากับอุตสาหกรรม
อัตราการเลื่อนตำแหน่ง
(ร้อยละ)
สัดส่วนค่าตอบแทนต่อพนักงาน (หญิงต่อชาย)
พนักงานระดับผู้จัดการขึ้นไป
0.87 : 1
พนักงานระดับอาวุโส
0.87 : 1
พนักงานระดับบริหาร
0.74 : 1
พนักงานระดับปฏิบัติการ
0.79 : 1
ผลการดำเนินงานด้านการสรรหาบุคลากร
.
  ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 ปี 2566
อัตราส่วนของการจ้างงานสำเร็จตามแผน
(เป้าหมาย)
ร้อยละ 94
(ร้อยละ 90)
ร้อยละ 90
(ร้อยละ 90)
ร้อยละ 92
(ร้อยละ 90)
ร้อยละ 100
(ร้อยละ 94)
การจ้างงานคนพิการ
(เป้าหมาย)
12 คน
(12 คน)
11 คน
(11 คน)
11 คน
(11 คน)
12 คน
(11 คน)

การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม

การพัฒนาสังคมถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารกิจการของบริษัท บางจากฯ โดยได้ถูกกำหนดไว้ในวัฒนธรรมองค์กรและวัฒนธรรมพนักงาน ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมให้เกิดความยั่งยืน

ชุมชน

ประมาณการประชากร

10 ชุมชนในเขตบางนา / พระโขนง
1 แฟลตทหาร
1 ต.บางน้ำผึ้ง
อ.พระประแดง
17,885 คน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

61,894 คน
ร้อยละ 60.90

งบด้านการพัฒนา

ร้อยละ 64.96

งบด้านบริจาค

ร้อยละ 7.40

ครอบครัว

ประมาณการประชากร

5,098 ครัวเรือน ที่เป็นสมาชิกจุลสารครอบครัวใบไม้
5,098 คน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

6,578 คน
ร้อยละ 6.50

งบด้านการพัฒนา

ร้อยละ 6.88

โรงเรียน

ประมาณการประชากร

19 โรงเรียนเขตบางนา พระโขนง และ ต.บางน้ำผึ้ง
14,363 คน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

28,726 คน
ร้อยละ 28.30

งบด้านการพัฒนา

ร้อยละ 13.77

งบด้านบริจาค

ร้อยละ 2.46

คอนโด

ประมาณการประชากร

29 โครงการรอบโรงกลั่น
6,316 คน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

4,360 คน
ร้อยละ 4.30

งบด้านการพัฒนา

ร้อยละ 4.53

การลงทุนทางสังคม 20.32 ล้านบาท (งบพัฒนา/บริจาค)

*ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ทั้งหมดทุกกลุ่มในปี 2566 = 101,558 คน (นับซ้ำ)

ผลลัพธ์การดำเนินงานด้านชุมชนสัมพันธ์ (ร้อยละ)

กิจกรรมเพื่อสังคม

ท่านสามารถอัพเดทกิจกรรมล่าสุดของบางจาก

อ่านเพิ่มเติม