EN
กำไรสุทธิ ของบริษัทใหญ่
13,233
ล้านบาท
เงินปันผล
1.50
บาทต่อหุ้น
รายได้
385,853 ล้านบาท
EBITDA
41,680
ล้านบาท
ความพึงพอใจของลููกค้า
4.16 คะแนน
การบริหารความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อลูกค้า
ความพึงพอใจลูกค้าต่อการตอบสนองต่อข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ
การกลับมาใช้บริการ

การกำกับดูแลกิจการที่ดี

การกำกับดูแลกิจการที่ดีถือเป็นรากฐานสำคัญในการดำเนินธุรกิจตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นลายลักษณ์อักษร (Disclosure 102-16) ตั้งแต่ปี 2546 โดยส่วนหนึ่งมาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่พนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมคิดร่วมกำหนดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการ ปฏิบัติงานของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน รวมถึงบริษัทย่อย และคณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการบรรษัทภิบาลพิจารณาทบทวนนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นประจำทุกปี ซึ่งในปี 2562 ได้ปรับปรุงนโยบายฯ เป็นครั้งที่ 16 เกี่ยวกับการแจ้งความประสงค์ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ล่วงหน้า ตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการอาเซียน (ASEAN CG Scorecard) และโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย (CG Report) การจัดให้มีที่ปรึกษาภายนอกมาช่วยประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามเกณฑ์การประเมินดัชนีชี้วัดความสำเร็จขององค์กร ที่ยั่งยืนและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน (CG Code) และการหมุนเวียนผู้สอบบัญชีตามกฎหมาย

อ่านเพิ่มเติม

การบริหารความเสี่ยงองค์กร

ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้นำกรอบการบริหารความเสี่ยงเข้ามาประยุกต์ใช้ในองค์กร โดยมีการนำมาตรฐานสากล COSO ERM และ ISO 31000 เข้ามาใช้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจทำให้องค์กรไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ (Disclosure 102-11) ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้เสียว่า บริษัทฯ จะสามารถดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในปัจจุบัน โดยผู้บริหารและพนักงานทุกระดับในองค์กร รวมทั้งบริษัทร่วมทุน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามระบบบริหารความเสี่ยงที่เป็นมาตรฐาน ควบคู่ไปกับกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์องค์กร และนโยบายการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงทั้งองค์กรกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุผลตามเป้าหมายทางธุรกิจร่วมกัน

การบริหารห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทฯ ได้จัดทำจรรยาบรรณคู่ค้าเพื่อการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน (BCP - Supplier Code of Conduct: SCOC) ที่ยึดหลักการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) และส่งเสริมให้คู่ค้าทุกรายปฏิบัติ ด้วยการประเมินตนเองผ่านระบบประเมินจรรยาบรรณคู่ค้า ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 หมวด ได้แก่

  • จริยธรรมทางธุรกิจ
  • การปฏิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน
  • ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
  • สิ่งแวดล้อม
  • การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม

การบริหารความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อลูกค้า

บริษัทฯ มีการบริหารความสัมพันธ์ทั้งในเชิงรุุกและเชิงรับกับลููกค้า ผ่านกลุ่มผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันของบริษััท บางจาก กรีนเนท จำกัด (BGN), Dealer, ร้านอินทนิล, สถานีบริการน้ำมันสหกรณ์ (CO-OP) ตามกลยุุทธ์การดำเนินธุุรกิจการตลาดมุ่งเน้น การตอบสนองต่อความต้องการของลููกค้า ยกระดับคุุณภาพบริการในสถานีบริการ เพื่อสร้างประสบการณ์์ที่ดีภายใต้แนวคิด “Your Greenovative Destination”

ผู้บริโภค
กลุ่มผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน
กลุ่มผู้ประกอบสถานีบริการน้ำมันชุมชน
กลุ่มอุตสาหกรรม

นโยบายภาษี

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม มีแนวทางการบริหารจัดการด้านภาษีที่รัดกุม เพื่อสร้างคุณค่าและประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย มีการเสียภาษีอย่างถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนมีแนวทางในการวางแผนและปฏิบัติงานด้านภาษีสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันของธุรกิจที่ดำเนินการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยความโปร่งใส และเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มโดยตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อม

ความปลอดภัยของข้อมูลทางไซเบอร์และระบบการจัดการข้อมูล

จากการสำรวจและความคาดหวังของลูกค้า พบว่าต้องการบริการที่รวดเร็ว และข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอต่อการตัดสินใจ ผนวกกับการขยายธุรกิจของบริษัท ทำให้บริษัทให้ความสำคัญกับการนำระบบดิจิตอลและเทคโนโลยีด้านไอทีมาใช้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว บริษัทจึงให้ความสำคัญกับนโยบาย แผนงาน การบริหารความเสี่ยง และติดตามการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของข้อมูลทางไซเบอร์และระบบการจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางมาตรฐานISO27001 และ National Institute of Standards and Technology (NIST)

การบริหารจัดการนวัตกรรม

การตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ไม่เพียงแต่สร้างรายได้และ ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ เท่านั้น แต่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ ผู้มีส่วนได้เสีย สังคมและสั่งแวดล้อมได้แก่ การขยายงานและทักษะใหม่ๆ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คน รวมถึงการลดการใช้ ธรรมชาติ และมลพิษจากการ ดำเนินธุรกิจ เป็นต้น